วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

มะเขือเทศ GMOs


ความหมายของพันธุวิศวกรรมและGMOs
พันธุวิศวกรรม
 คือ การนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล หรือ อณูชีววิทยา (molecular biology) นำมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยน ดัดแปลง เคลื่อนย้าย หรือตรวจสอบ สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรม (RNA และ โปรตีน)ของสิ่งมีชีวิต

GMOs หรือ คืออะไร
    GMO เป็นตัวย่อของคำว่า Genetically Modified Organisms มีความหมายว่า สิ่งมีชีวิตที่ได้จากการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเท่านั้น สารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA เป็นสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน (GENE) และสิ่งมีชีวิตจะเป็นสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์
   พืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น
    ได้มีการนำเทคโนโลยีทางด้านพันธุวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยนำหน่วยพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งถ่ายเข้าไปรวมหรือร่วมอย่างถาวรกับหน่วยพันธุกรรมกับหน่วยพันธุกรรม ของพืชอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สามารถแสดงลักษณะที่ไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติสำหรับพืชชนิดนั้น พืชชนิดนั้นจึงเรียกว่าเป็น พืชที่ได้รับตัดต่อสารพันธุกรรม (Genetically Modified Plants)
   ปัจจุบันมีพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมหลายชนิดที่เป็นที่ยอมรับและได้มีการปลูกเป็นการค้าในต่างประเทศหลายชนิด เช่น มะละกอ, ข้าวโพด, ฝ้าย และถั่วเหลือง เป็นต้น อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมดังกล่าวแล้ว ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่สาธารณชนและนักวิชาการ ในการควบคุมภยันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น


อดีตและอนาคตของมะเขือเทศ




มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculuentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด
ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
มะเขือเทศมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างสูง เพราะมะเขือเทศมี วิตามินซี (citrin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด มะเขือเทศยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจึงสามารถแก้อาการความดันโลหิตสูง มะเขือเทศมีวิตามินเอจึงสามารถรักษาโรคตาได้ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือมีวิตามินซีมากทำให้สามารถป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด
ช่วยระบบการย่อยและช่วยการขับถ่ายอุจจาระอีกด้วย  ช่วยบำรุงผิวลดริ้วรอย
       
       มะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) เป็นพืชที่มีกำเนิดในป่าของ ประเทศเปรูและเอกวาดอร์ในอเมริกากลาง นักประวัติศาสตร์การเกษตรเชื่อว่า ชาวเม็กซิโกเป็นชนชาติแรกที่รู้จักนำมะเขือเทศมาปลูกในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่อกองทัพล่าอาณานิคมของสเปนได้ทำสงครามชนะชนพื้นเมืองเผ่า Inca, Aztec และ Maya เหล่าทหารได้นำพืชชนิดนี้จากเม็กซิโกไปปลูกในยุโรป จากนั้นพืชที่รู้จักกันในนามว่า แอปเปิลทองบ้าง แอปเปิลเปรูบ้าง หรือแอปเปิล พิศวาสบ้าง ก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกผิวพรรณไม่แห้งกร้าน

ทุกวันนี้ โลกใช้มะเขือเทศในการทำสลัด หรือนำผลสุกไปคั้นเป็นซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ หรือนำผลดิบมาดองเป็นมะเขือเทศ กระป๋อง ส่วนกากมะเขือเทศที่เหลือจากการคั้นก็นิยมนำไปใช้เลี้ยงสัตว์
มะเขือเทศสามารถเจริญงอกงามได้ในดินฟ้าอากาศที่หลากหลายสภาพทั้งในเรือนเพาะชำหรือไร่ ถึงแม้เราสามารถพบเห็นชาวไร่ ปลูกมะเขือเทศในทุกภูมิภาคของโลก แต่รัสเซีย จีน อเมริกา อียิปต์ และอิตาลี คือประเทศที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุก
มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนประมาณ 1 ปี ที่นิยมปลูกเป็นพุ่มซึ่งชาวไร่มักใช้ไม้ค้ำชูลำต้นที่สูงตั้งแต่ 0.7-2 เมตร เมื่อต้น ให้ผลตามที่ต้องการแล้ว เขาจะเด็ดยอดทิ้งเพื่อไม่ให้ต้นเจริญเติบโตอีกต่อไป หากไร่มีต้นอ่อนงอกเสริม ชาวไร่จะถอนมันทิ้งเพื่อไม่ให้ มันแย่งอาหารจากต้นใหญ่ ขณะเจริญเติบโตต้นมะเขือเทศต้องการแสงแดดจัด ใบเป็นใบประกอบที่มีก้านใบ และแกนกลางใบ ดอกเป็น ช่อซึ่งมีดอกตั้งแต่ 3-11 ดอก กลีบสีเหลืองมี 5-6 กลีบ และเกสรตัวผู้ห่อหุ้มเกสรตัวเมีย
ดังนั้นมันจึงเป็นพืชที่สามารถผสมพันธุ์ได้ใน ตัวของ มันเองโดยไม่ต้องอาศัยแมลง แต่ก็มีมะเขือเทศบางพันธุ์ที่เกสรตัวเมียยื่นออกมาเหนือเกสรตัวผู้ มะเขือเทศที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ ลักษณะนี้จึง ต้องการแมลงมาช่วยในการผสมพันธุ์ข้ามต้น
เนื้อของมะเขือเทศมีทั้งมีแดงและเหลือง ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1.5-10 เซนติเมตร ผิวเรียบ และมีน้ำกว่า 90% มีโปรตีนและ ไขมันเล็กน้อย ส่วนคาร์โบไฮเดรตอันได้แก่ glucose และ fructose มีประมาณ 3% และมี carotene วิตามิน B,E และ C เล็กน้อย โดยเฉพาะวิตามิน C มีปริมาณ 17 มิลลิกรัม ในเนื้อมะเขือเทศ 100 กรัม ส่วน carotene ที่ว่านี้คือ lycopene -carotene
ชาวไร่มักพบว่า ถ้าต้นมะเขือเทศมีน้ำหล่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ ผลมะเขือเทศจะมีสีดีและมักมีกลิ่นหอม แต่ชาวไร่บางคนเชื่อว่า หากมะเขือเทศได้รับลมทะเล มันจะเจริญงอกงามได้ดีที่สุด
ตามปกติเมื่อผลมะเขือเทศสุก ชาวไร่จะใช้เครื่องจักรหรือคนเก็บผล การนิยมเก็บผลก่อนสุกงอมเล็กน้อยก็เพื่อนำไปขายหรือ แปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์รูปอื่น สำหรับมะเขือเทศที่ถูกเก็บในขณะที่ยังไม่สุกนี้ อาจถูกทำให้มีผิวแดงโดยการอบด้วยแก๊ส ethylene เช่นเดียวกับกล้วย ส่วนมะเขือเทศที่สุกงอมมากหากชาวไร่เก็บมันอย่างไม่ละมุนละม่อมหรือบรรจุมันในภาชนะอย่างไม่ระมัดระวัง ผลก็อาจแตกเละได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการขนส่งมะเขือเทศไปบริโภคในที่ไกลๆ การดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) จึงเป็นเทคโนโลยี ชีวภาพรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้กับมะเขือเทศ เพื่อปรับปรุงผิวของมันให้แข็งให้มีชีวิตอยู่ได้นาน
ทุกวันนี้คนทั่วโลกรู้จักและนิยมบริโภคมะเขือเทศ แต่เมื่อครั้งที่เหล่าทหารล่าอาณานิคม (conquistadores) เห็นมะเขือเทศ เป็นครั้งแรก เขาได้เห็นมันปลูกในสวนเป็นไม้ประดับ จึงได้นำไปปลูกเป็นไม้ประดับในสวนยุโรปบ้าง แต่เมื่อมันไม่ได้รับแสงแดดอย่าง พอเพียง กลิ่นของผลจึงไม่หอม ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อนักชีววิทยาจัดมันอยู่ในตระกูล Solanum ที่มีพิษ ผู้คนจึงไม่รู้สึกอยากบริโภค นอกจากเหตุผลนี้แล้ว การมีชื่อเรียกว่า love apple หรือ pomme d' amour ซึ่งแปลว่า ผลไม้พิศวาส ก็มีส่วนทำให้คนเคร่ง ศาสนาหรือคนที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมไม่กล้ากิน เพราะคิดว่าผลไม้ชนิดนี้จะไปกระตุ้นความรู้สึกทางเพศของตน
ความเข้าใจในธรรมชาติของมะเขือเทศได้เริ่มดีขึ้นตามลำดับ ในปี 2062 เมื่อ Bernadino de Sahaqum นักประวัติศาสตร์ ชาวสเปนได้เขียนบันทึกใน The General History of New Spain ว่า ได้เห็นผลมะเขือเทศสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม แดงอ่อน แดงเข้ม และเขียว ทั้งขนาดใหญ่และเล็กที่มีรสหวาน ในปีเดียวกันนั้น Bernal Diaz ผู้ได้ติดตามกองทัพสเปนเดินทางสู่นคร Tenochitlan (Mexico City ในปัจจุบัน) ก็ได้บันทึกว่า ชาวอินเดียนแดงได้เตรียมฆ่าทหารโดยได้ใช้หม้อต้มน้ำขนาดใหญ่ โดยมีพริกไทย เกลือกับมะเขือเทศเป็นเครื่องปรุง เมื่อถึงปี 2443 แพทย์ชื่อ Fernie ได้กล่าวในหนังสือชื่อ Meals Medicinal ว่าชนพื้นเมืองบนเกาะ Fiji นิยมกินเนื้อคนยุโรปที่ปรุงด้วยมะเขือเทศเช่นกัน
ความจริงคำ tomate เป็นคำที่ชาวสเปนใช้เรียกมะเขือเทศ คำๆ นี้ แปลงมาจากคำ tomatl ในภาษาของชนเผ่า Aztec นอกจาก จะเรียกชื่อมะเขือเทศเลียนภาษาชนเผ่า Aztec แล้ว พ่อครัวสเปนยังใช้สูตรการปรุงมะเขือเทศตามตำหรับของชนเผ่า Aztec ด้วย โดยปรุงด้วยเกลือ พริกหอม น้ำมันมะกอกและน้ำส้ม ส่วนชาวอิตาลีนั้นนิยมบริโภคมะเขือเทศโดยการทอดในน้ำมันด้วยเกลือและพริกไทย ประวัติศาสตร์การครัวฝรั่งเศสได้บันทึกว่า พ่อครัวชื่อ Dunand แห่งองค์จักรพรรดิ Napolean ได้คิดสูตรอาหารจานเด็ดที่ใช้ มะเขือเทศเป็นเครื่องปรุงหลักในปี 2343 เมื่อกองทัพ Napolean ได้ยาตราทัพถึงเมือง Marengo ในแคว้น Lombardy และ พบว่าที่เมืองๆ นั้นไม่มีเนย Dunand จึงทอดไก่ในน้ำมันมะกอก แล้วเอาซอสที่ทำจากเหล้าองุ่น มะเขือเทศ เห็ด ราดอาหารที่ชื่อ Chicken Marengo นี้ยังคงมีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวฝรั่งเศสก็เริ่มรู้จักและนิยมบริโภคมะเขือเทศมากขึ้น

 

มะเขือเทศสีม่วง




    คณะนักวิจัยอังกฤษอ้างว่า มะเขือเทศสีม่วงตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ให้มีสารอาหารที่พบมากในผลไม้สีเข้มช่วยป้องกันมะเร็งในหนูได้ วารสารเนเจอร์ไบโอเทคโนโลยีลงพิมพ์ผลการวิจัยของศูนย์จอห์นอิน เนสที่ ซึ่งรับทุนจากรัฐบาลอังกฤษ ว่า การให้หนูที่มีแนวโน้มเป็นมะเร็งกินมะเขือเทศจีเอ็มโอดังกล่าวช่วยให้มีอายุ ยืนอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับหนูที่กินอาหารธรรมดา
     การศึกษา นี้มุ่งไปที่แอนโธไซยานิน สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักผลไม้สีน้ำเงิน สีม่วงและสีแดง มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าสารดังกล่าวช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง โรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับระบบประสาทบางชนิด คณะนักวิจัยพบวิธีทำให้มะเขือเทศผลิตแอนโธไซยานินด้วยการตัดแต่งยีนที่ทำให้ มะเขือเทศมีสีม่วง สำหรับสารแอนโธซียา นิน  Anthocyanins  ก็ยังมีฤทธิ์ชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ปกป้องร่างกายจากโรคทางหัวใจ ช่วยในเรื่องสายตา และอาจมีผลช่วยป้องกันโรคอ้วนและเบาหวาน
    แต่นักวิจัยเตือนว่า ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะทดลองกับมนุษย์ ขั้นต่อไปจะต้องศึกษาว่าแอนโธไซยานินมีผลต่อเนื้องอกอย่างไรเพื่อหาวิธี พัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ ด้านคณะนักวิจัยอื่นเห็นว่า เราทำให้ร่างกายแข็งแรงง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารในชีวิตประจำวัน


งานทางด้านการวิจัย

 
ทีมนักวิจัย อังกฤษประสบผลสำเร็จ ในการตัดต่อยีน สร้าง "มะเขือเทศสีม่วง" ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสารพัดโรค โดยเฉพาะมะเร็ง หวังใช้เป็นทางออกให้กับคนที่ไม่ค่อยกินผักผลไม้
   

       
เอเอฟพีรายงานว่า ทีมนักวิจัยจากจอห์น อินนส์ เซ็นเตอร์ (John Innes Centre) เมืองนอร์วิช สหราชอาณาจักร ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม นำยีนสร้างสารสีม่วงแดงจากดอกไม้ใส่ให้มะเขือเทศ ได้เป็น "มะเขือเทศสีม่วง" (purple tomato) หวังพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยได้รายงานผลสำเร็จลงในวารสารเนเจอร์ ไบโอเทคโนโลจี (Nature Biotechnology) เมื่อวันที่ 26 .. ที่ผ่านมา
      
       
เค ธี มาร์ติน (Cathie Martin) นักวิจัย เปิดเผยว่า จุดประสงค์ที่สร้างมะเขือเทศสีม่วงนี้ขึ้นมาก็เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับ มะเขือเทศ ให้มะเขือเทศนี้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการบริโภคผักผลไม้ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งเมื่อกว่า 20 ปีก่อน สหรัฐฯ รณรงค์ให้ประชาชนบริโภคผักผลไม้ไม่ต่ำกว่า 5 ส่วนทุกๆ วัน
      
       
ทว่าในช่วง 10 ปีมานี้ คนอเมริกันที่กินผักผลไม้ได้ปริมาณที่เหมาะสมตามนั้น มีจำนวนลดลงเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 1 ใน 4 เท่านั้น และความล้มเหลวนี้ทำให้ต้องหันมาพัฒนาอาหารที่บริโภคกันเป็นประจำ ให้มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะที่คนส่วนใหญ่บริโภคกันมากอยู่แล้วอย่างมะเขือเทศ
      
     
นักวิจัยจึงทดลองทำมะเขือเทศดัดแปรพันธุกรรม โดยนำยีน 2 ยีน จากดอกสแนป
ดรากอน (snapdragon flower) หรือ แอนเทอร์รินัม เมจัส (Antirrhinum majus) มาใส่เข้าไปในจีโนมของมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศสร้างสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) ที่มีฤทธิ์ด้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
       
ประโยชน์ทางด้านการเกษตร ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จำหน่าย สินค้า GMOs ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ในจำพวก
      
จากนั้นนักวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของมะเขือเทศดังกล่าว โดยนำไปเลี้ยงหนูทดลองที่ตัดต่อพันธุกรรมให้เป็นมะเร็ง พบว่ามะเขือเทศที่อุดมด้วยสารแอนโทไซยานินนี้ช่วยให้หนูกลุ่มนี้มีชีวิตยืนยาวขึ้นเป็น 182 วัน ขณะที่หนูตัดต่อพันธุกรรมแบบเดียวกัน แต่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารตามปรกติ มีชีวิตอยู่ได้ 142 วันเท่านั้น
       
ทั้งนี้ การทดลองดังกล่าวยังคงเป็นการทดลองในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งนักวิจัยจะต้องเก็บข้อมูลการทดลองระดับพรีคลินิกต่อไปอีก แล้วจึงจะทดสอบในคนต่อไป หากมีการสนับสนุนให้นำไปใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพในทางการแพทย์ โดยจะเลือกทดสอบในอาสาสมัครที่เห็นด้วยกับงานวิจัยนี้
การวิจัยเพิ่มเติม













นักวิจัยอิสราเอลทำมะเขือเทศหลากกลิ่น หลายรสโดยใช้เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ ทั้งกลิ่นกุหลาบ มะนาว ตะไคร้ และหวังว่าจะสามารถผลิตเชิงการค้าได้ในไม่ช้านี้

เอเอฟพี/ฟูดเนวิเกเตอร์.คอม มะเขือ เทศกลิ่นเลมอน มะเขือเทศกลิ่นกุหลาบ ฟังดูแล้วอย่างกับในนิทาน และไม่ใช่เรื่องโกหกอีกต่อไปเมื่อนักวิทยาศาสตร์ดัดแปลงพันธุกรรมมะเขือเทศ ให้มีกลิ่นที่หลากหลายและรสชาติแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร
      
       
คณะนักวิจัยของศูนย์วิจัยนิวยาอาร์ (Newe Yaar Research Centre) เมืองนิวยาอาร์ ประเทศอิสราเอล รายงานในวารสารเนเจอร์ไบโอเทคโนโลยี (Nature Biotechnology) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาสามารถดัดแปลงพันธุกรรมทำให้มะเขือเทศมีกลิ่นหอมของดอกไม้หรือผลไม้ได้ และหวังว่าจะมีการผลิตออกสู่ตลาดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคได้
        
เอฟราอิม เลวินซอห์น (Efraim Lewinsohn) หัวหน้าทีมวิจัยเปิดเผยว่า พวกเขาได้นำเอายีนที่ใช้สร้างเอ็นไซม์เจอรานิออลซินเทส (geraniol synthase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ทำให้เกิดกลิ่นในใบโหระพา (Ocimum basilicum) มาตัดต่อใส่ในยีนของมะเขือเทศเพื่อให้ได้มะเขือเทศที่มีกลิ่นต่างไปจากเดิม
       
จาก การทดสอบกับอาสาสมัครจำนวน 82 คนให้ทดลองชิมมะเขือเทศจีเอ็มโอเปรียบเทียบกับมะเขือเทศธรรมดาคนละ 1 ชุด แล้วให้บันทึกว่ากลิ่นใหม่ที่ต่างไปจากเดิมเป็นอย่างไร บางคนบอกว่าเป็นกลิ่นน้ำหอม บ้างก็ว่าเป็นกลิ่นกุหลาบ กลิ่นเจอเรเนียม กลิ่นเลมอน หรือแม้แต่กลิ่นตะไคร้ก็ยังมี โดยผู้เข้ารับการทดสอบ 49 คนพึงพอใจกับกลิ่นและรสชาติของมะเขือเทศจีเอ็มโอที่ให้กลิ่นหอมหลากหลาย ขณะที่ 29 คน ชอบมะเขือเทศที่ไม่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมมากกว่า และอีก 4 คนที่เหลือไม่แสดงความเห็น
      
       
มะเขือเทศจีเอ็มโอที่ให้ กลิ่มหอมของพืชพันธุ์นานาชนิดนี้จะมีสีแดงสว่างหรือสีแดงเข้มน้อยลงจาก มะเขือเทศปกติ ทั้งนี้เพราะการดัดแปลงพันธุกรรมนี้มีผลให้มะเขือเทศจีเอ็มโอสร้างสารไลโคพี (lycopene) ลดลงถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณไลโคพีนในมะเขือเทศทั่วไป แต่ไปเพิ่มการสร้างสารเทอร์พีนอยด์ (terpenoid) มากขึ้น ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมระเหย
       
ไลโคพีนเป็น รงควัตถุหรือสารที่ทำให้เกิดสีแดงในมะเขือเทศ และเป็นอนุพันธ์ของแคโรทีนอยด์ (carotenoid) รงควัตถุที่ทำให้เกิดสีเหลืองหรือส้มในผักและผลไม้ต่างๆ ทั้งไลโคพีนและแคโรทีนอยด์มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) เพราะโครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยพันธะคู่จำนวนมากทำให้สามารถจับกับอนุมูล อิสระได้โดยง่าย ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและโรคหัวใจอันเนื่องมาจากคลอเรสเตอรอลในหลอดเลือด สูง
        
เลวินซอห์น ยืนยันว่าแม้มะเขือเทศจีเอ็มโอจะมีปริมาณไลโคพีนลดลง แต่ถูกทดแทนด้วยสารเทอพีนอยด์ที่สูงขึ้น ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และแมลงศัตรูพืช ทำให้ลดใช้สารเคมีระหว่างเพาะปลูกได้ ทั้งยังช่วยยืดอายุหลังเก็บเกี่ยวได้ด้วย
        
ผักผลไม้ อื่นๆที่การสร้างสารในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ก็สามารถใช้วิธีเดียวกันนี้ในการ ปรับปรุงกลิ่นและรสชาติได้เหมือนกัน เลวินซอห์น กล่าว ทั้งยังหวังว่ามะเขือเทศจีเอ็มโอเหล่านี้หรือพืชอื่นที่มีการดัดแปลงในทำนอง เดียวกันจะสามารถเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ได้ในเร็ววัน
        
นอกจากนี้ อิสราเอลยังเป็นพื้นที่เพาะปลูกมะเขือเทศชั้นเลิศที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สถาบันวิจัยและบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านอาหารต่างก็กระตือรือร้นทำงานวิจัย เพื่อหาวิธีปรับปรุงคุณสมบัติของพันธุ์พืชให้มีวามเหมาะสมตามต้องการ แต่ในหลายประเทศโดยเฉพาะยุโรปยังไม่ไว้วางใจผลกระทบของอาหารดัดแปลงพันธุ กรรมต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
      
       
อย่างไรก็ดี มะเขือเทศดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรกที่ถูกตัดต่อยีนทำให้ชะลอการสุกช้าลงได้ และยืดอายุให้เก็บได้นานขึ้น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อฟลาวร์เซฟ (FlavrSavr) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทคาลยีน (Calgene) ในแคลิฟอร์เนีย และเริ่มวางจำหน่ายในสหรัฐฯครั้งแรกเมื่อปี 1994 แต่สุดท้ายก็ต้องเก็บกลับคืนไปภายในไม่กี่ปีเพราะขายไม่ได้


สรุป
สินค้า GMOs เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันโดยการเข้ามาปะปนในห่วงโซ่อาหารมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาความปลอดภัยในสินค้า GMOs มากยิ่งขึ้น และเริ่มมีรายงานผลทั้งในแง่บวกและลบหลายกรณี แม้จะเชื่อมโยงได้ว่าสินค้า GMOs นั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยง แต่การพิสูจน์ในแต่ละกรณียังต้องใช้เวลา ขณะเดียวกันไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้า GMOs ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการพิจารณาสินค้า GMOs จึงต้องศึกษาเป็นรายกรณีไป อย่างไรก็ดีสำหรับผู้บริโภคและผู้ผลิตในประเทศไทย การบริโภคและสนองตอบผู้บริโภคที่ปราศจากความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ขณะเดียวกันต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร GMOs นี้ เพื่อให้เข้าใจและเท่าทันในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดการผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศในอนาคต





2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับพอดีทำรายงาน เว็บนี้ เว็บเดียวจบเลย 555

    ตอบลบ
  2. เป็นบทความที่ดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ